วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่บนถนนสิงหไคล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเทศบาลนครเชียงราย
ประวัติ : เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างมาก่อน มีผู้มาบุกเบิกบูรณปฏิสังขรณ์เป็นคนแรกชื่อเรือง (เฮือง) จึงได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อศรัทธาท่านนั้น
วัดศรีบุญเรืองวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489
| สิ่งที่น่าสนใจในวัด |
อุโบสถวัดศรีบุญเรือง : เป็นศิลปะล้านนาประยุกต์ กล่าวคือ เป็นอาคารสูงแบบที่ นิยมสร้างในภาคกลาง ต่างจากศิลปะล้านนาแบบดั้งเดิมที่นิยมสร้างอาคารแบบเตี้ยๆ แต่ยังคงประดับตกแต่งแบบล้านนา ด้วยเครื่องไม้สลักลงรักปิดทอง ได้แก่ หน้าบัน และโก่งคิ้ว ป้านลมโค้งอ่อนแบบล้านนา เน้นระนาบเอนของตับหลังคา เพิ่มความโดดเด่นแก่บันไดทางเข้าด้วยรูปพญานาคที่ราวบันได
พระเจ้าศรีบุญเรือง : พระเจ้าศรีบุญเรือง เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุมากกว่าร้อยปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ศิลปะสกุลช่างพื้นถิ่น เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว จะทำให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคล เจริญในหน้าที่การงานและยศศักดิ์
เจดีย์วัดศรีบุญเรือง : เจดีย์วัดศรีบุญเรืององค์นี้ พระครูปัญญาลังการ ได้บูรณะโดยสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เก่าเมื่อปี พ.ศ. 2487 ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เจดีย์เป็นแบบร่วมสมัย ประยุกต์มาจากเจดีย์ทรงปราสาท ยอดเดียวแบบล้านนา เนื่องจากมีการทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน
พิพิทธภัณฑ์ คัมภีร์ใบลานล้านนา : เป็นที่เก็บรวบรวมคัมภีร์ใบลานล้านนา ซึ่งหาดูได้ยาก และมีคุณค่ายิ่งทางประวัติศาสตร์ของเชียงราย
ติดตามเรา กด “ถูกใจเพจ” เพื่อรับชมสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญอื่นๆ ทั่วเขตเทศบาลนครเชียงราย และพื้นที่เชื่อมต่อ
This message is only visible to admins.
Problem displaying Facebook posts.
Click to show error
ให้กำลังใจเรา กดถูกใจ บทความนี้
แบ่งปันเรื่องราวนี้ให้เพื่อนๆ กดแชร์ บทความนี้